แผงกันแดดประหยัดพลังงาน (An Energy Saving Solar Screen)
วันนี้ สถาปัตย์เกษตรมีผลงานวิจัยมาแนะนำกันค่า
แผงกันแดดประหยัดพลังงาน (An Energy Saving Solar Screen)
ผลงานวิจัยนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์โดย รศ.ดร.โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ และ ดร.ณัฏรี ศรีดารานนท์หน่วยงานวิจัย : TIGA LAB (Appropriate Technology for Innovative Green Architecture) ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แนวคิดในการพัฒนา
การนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา โดยการป้องกันแสงแดดหรือรังสีตรง (Direct Light) ที่มีความร้อนและรังสี UV สูง และเปิดรับเฉพาะแสงทางอ้อม (Indirect Light) ที่เป็นแสงกระจายและแสงสะท้อนที่มีความร้อนและรังสี UV ต่ำ เพื่อให้ได้แสงธรรมชาติที่มีคุณภาพดีเข้าสู่ภายในอาคาร
จากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ ประกอบกับการคำนวณมุมของรังสีอาทิตย์ที่สอดคล้องกับทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ (แปรเปลี่ยนตามเวลา/สถานที่ตั้ง) ทำให้ได้รูปทรงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีตรงได้โดยตลอดทั้งปี (100%) โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์กลไกในการปรับมุมกันแดด และมีช่องเปิดที่สามารถเห็นทัศนียภาพภายนอกได้ตลอดเวลา เกิดการเชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมภายนอก และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีภายในอาคารการนำไปใช้ประโยชน์
แผงกันแดดสำหรับติดตั้งประกอบกระจก ประตู หน้าต่าง ช่องเปิดโล่ง หรือใช้เป็นผนังสำหรับพื้นที่เปิด เช่น ระเบียง เฉลียง หรือพื้นที่อื่นๆ เพื่อการป้องกันแสงแดด รวมถึงการนำไปใช้แทนเหล็กดัดเพื่อการป้องกันการบุกรุก จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอาคารได้หลากหลายประเภท และออกแบบลวดลาย แพทเทิร์น สีสันให้สวยงามได้หลากหลายตามความต้องการ
คุณสมบัติและลักษณะเด่น
สามารถป้องกันแสงแดดได้ 100% ตลอดทั้งปี (ไม่ต้องใช้เซ็นเซอร์/อุปกรณ์ปรับมุม)
มีประสิทธิภาพช่วยลดแสงจ้า ความร้อน และรังสี UV
แสงที่ได้มีคุณภาพดี (สม่ำเสมอ นุ่มนวลตา)
ส่งเสริมสภาวะน่าสบาย (Thermal & Visual Comfort)
ช่วยรักษาสุขภาพสายตาและผิวหนังของผู้ใช้อาคาร
ลดการเสื่อมสภาพของวัสดุ เฟอร์นิเจอร์ และงานศิลปะภายในอาคาร
ช่วยประหยัดพลังงาน (ไฟฟ้าแสงสว่าง/ เครื่องปรับอากาศ)
สะดวกต่อการใช้งานและการบำรุงรักษาทรัพย์สินทางปัญญาและรางวัล
สิทธิบัตรการประดิษฐ์จาก สหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จาก ประเทศไทย
รางวัลการประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์จาก ประเทศไทย (สภาวิจัยแห่งชาติ) งานประกวดระดับนานาชาติ ณ สาธารณรัฐเกาหลี
ร่วมสนับสนุนทุนเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์โดย : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และ บริษัท กรีนออกไซด์ รีเสิร์ชแอนด์อินโนเวชั่น(ประเทศไทย) จำกัด
ผู้สนับสนุนผลงานและให้ความอนุเคราะห์สถานที่ติดตั้งผลงาน : GB Aluminum & Glass Limited Partnership
สนใจผลงานติดต่อ โทร : 085-152-3071 Email : sopa.v@ku.th , nattaree.sr@ku.th